เทคนิคการพิมพ์ผ้ากีฬา Technical for Sport Wear Screen Printing |
โดย รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์ อาจารย์พิเศษและวิทยากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถ้ากล่าวถึงการพิมพ์ผ้ากีฬาสำหรับอุตสาหกรรมโรงพิมพ์บางแห่ง ดูว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้ยากพอสมควร เพราะโรงพิมพ์ที่กล่าวถึงจะคุ้นเคยกับการพิมพ์กลางอกเป็น ชื่อBrand Name ต่าง ๆ หรือพิมพ์เบอร์ต่าง ๆ ลงไป และถ้าจะต้องพิมพ์งานเทพื้นผ้าแล้วละก้อ ยากทีเดียว ลำพังสีพิมพ์ปิกเม้นท์ก็ติดยากแล้ว จะใช้ความร้อนเข้าช่วย บางครั้งก็อาจจะพบปัญหาผ้าหดตัวได้ง่าย หรือพบกับปัญหาการเคลื่อนที่ของสีย้อมเข้าหาสีพิมพ์ปิกเม้นท์( Dye Migration) คือ ถ้าต้องพิมพ์สียางขาวลงบนผ้ากีฬาสีน้ำเงิน แล้วอบหรืออัดความร้อน สีขาวที่ได้จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอ่อน ๆ ทันทีเนื่องจากสีที่ย้อมผ้าไนลอนหรือผ้าโพลีเอสเตอร์จะเคลื่อนที่ไปหาสีขาวที่พิมพ์ทับลงไป และถ้าจะนำสีจมซึ่งเป็นสีพิมพ์ปิกเม้นท์ประเภทหนึ่งไปพิมพ์ปัญหาเหล่านี้ไม่ยากอย่างที่เราพบกันมา ถ้าเราทราบเทคนิคการพิมพ์ผ้ากีฬา งานนี้ใคร ๆ ก็ทำได้
การพิมพ์สีพื้นบนผ้ากีฬา สีที่จะใช้ในการพิมพ์สีพื้นบนผ้ากีฬา เราจะเรียกว่า สีระเหิด (Sublimation)ซึ่งจะใช้ระบบการพิมพ์อ้อม(Transfer Print) คือ พิมพ์บนกระดาษ แล้วนำมารีดลงบนผ้าอีกครั้งหนึ่ง สีชนิดนี้จะระเหิดเข้าไปอยู่ในเส้นใยของผ้า ทำให้ติดแน่น ทนซักมาก ไม่เก่าง่าย
แนวทางการใช้สีระเหิด 1.พิมพ์ด้วยมือ (Manual Screen Printing) ให้เตรียมบล็อกสกรีนที่มีลายบนบล็อกกลับด้านกับงานพิมพ์ตรง แล้วนำสีระเหิดที่ทางห้างฯจำหน่าย ซึ่งเป็นสีสำเร็จรูปพร้อมพิมพ์ได้ทันที พิมพ์ใส่กระดาษทรานเฟอร์ แล้วอบด้วยความร้อน โดยไม่ต้องโรยด้วยผงกาวทรานเฟอร์ แล้วนำไปอัดด้วยความร้อน หลังจากนั้นให้ลอกด้วยกระดาษออก สีจะย้ายจากกระดาษไปอยู่บนผ้ากีฬา 2.พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์กระดาษ (Flexography Machine) วิธีนี้จะแตกต่างจากวิธีพิมพ์ด้วยมือ คือ แทนที่จะพิมพ์ด้วยบล็อกสกรีนก็มาพิมพ์กับเครื่องพิมพ์กระดาษ โดยใช้สีชนิดเดียวกันพิมพ์ หลังจากพิมพ์เสร็จแล้วให้นำมาอัดด้วยเครื่องอัดความร้อนแล้วลอกกระดาษออกเช่นกัน
ตารางการทรานเฟอร์สีระเหิด
Polyester |
210 - 220 องศาเซลเซียล |
35 - 45 วินาที |
Nylon |
185 -1 95 องศาเซลเซียล |
25 - 35 วินาที |
Nylon 6 |
190 - 200 องศาเซลเซียล |
25 - 35 วินาที |
Diacetate |
185 - 195 องศาเซลเซียล |
20 - 30 วินาที |
Triacetate |
185 - 195 องศาเซลเซียล |
20 - 30 วินาที | การพิมพ์กลางอกหรือพิมพ์เบอร์ ขั้นตอนนี้จะต้องเตรียมสีปิกเม้นท์ที่ต้องการ นำมาพิมพ์ลงตำแหน่งใดก็ได้ตามที่ต้องการ อาจจะพิมพ์กลางอก หรือพิมพ์เบอร์ด้านหลังเสื้อก็ได้ ซึ่งจะใช้วิธีการพิมพ์ตรง (Direct Print) สีที่ใช้ ได้แก่ สีลอย สียาง สีนูน หรือสีพลาสติซอลก็ได้ แนวทางการใช้สีพิมพ์ผ้าสูตรน้ำ 1.แบบไม่ใช้ความร้อน ใช้ Catalyst SK-573 แต่งร่วม 3%มากกว่า หรือ น้อยกว่า
ผสมสี |
Elastic Paste SK-1A1 สียางพิมพ์ผ้าเข้ม |
97
|
|
|
Color Concentrate แม่สีน้ำ |
x
|
|
|
Catalyst SK-573 |
3 |
มากกว่า หรือน้อยกว่า |
|
|
100 |
|
สีขาว |
White Elastic Paste SK-3A3 |
97 |
|
|
Catalyst SK-573 |
3 |
มากกว่า หรือน้อยกว่า |
|
|
100
|
| ความร้อนที่จะใช้ร่วมควรใช้ความร้อนในอัตราที่ต่ำกว่าความสามารถของการรองรับความร้อนของผ้าที่พิมพ์ ผ้าเสื้อกีฬาส่วนมากจะหดตัวเมื่อถูกความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 10 วินาที หรือมากกว่า และถ้าหากใช้ความร้อนเข้าร่วมแล้วเกิดปัญหา Dye Migration ให้พิมพ์รองพื้นด้วยสีขาวก่อน แล้วใช้ความร้อนอบจนกระทั่งสีของผ้าเสื้อกีฬาซึมเข้าหาสีรองพื้นที่พิมพ์ไว้ แล้วพิมพ์สีต่อไปทับด้านหน้า (Overprint) จะเห็นว่าสีจากผ้าดังกล่าวจะไม่สามารถซึมต่อไปในสีที่พิมพ์ทับลงไปทีหลัง วิธีนี้อาจใช้แก้ปัญหา Dye Migration ได้ในผ้าใยสังเคราะห์บางชนิดเท่านั้น ซึ่งบางทีสีย้อมจะซึมเข้าหาสีพิมพ์เสร็จแล้วหลายวันก็ได้ ไม่แสดงผลให้เห็นทันที
*ข้อมูลทั้งหมดที่ระบุไว้ในบทความข้างต้นนี้ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากความรู้และความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เขียนทั้งสิ้น และถือได้ว่าความรู้ดังกล่าวมีความถูกต้องแม่นยำแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สามารถให้การรับประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและคำแนะนำดังกล่าวได้ในทุก ๆ กรณี เนื่องจากผู้เขียนไม่อาจคาดคะเนได้ว่าผู้อ่านจะนำข้อมูลหรือคำแนะนำ ไปใช้เมื่อใด ทางด้านใดบ้าง และมีปัจจัยอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและผู้เขียนขอสงวนสิทธ์ในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล และคำแนะนำข้างต้นตลอดเวลาด้วยโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า* |
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐:%M น. |